จิตกับกาย

สวัสดีกัลยาณธรรมทุก ๆ ท่านข้าพเจ้าได้บทความนี้มาจากสัปดาห์วัน วิสาขบูชา โลก ณ.มลฑลพิธีท้องสนามหลวง 15 – 18 พฤษภาคม 2553 บัณฑิตผู้รู้แจ้งต้องหลีกเลี่ยง มิตร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ….

1.มิตรปอกลอก

2.มิตรดีแต่พูด

3.มิตรหัวประจบ

4.มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

มิตรทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกลเมื่อผู้อื่นยก(ตน)เราควรถ่อม ตนเมื่อผู้อื่นตกต่ำ เราควรยกขึ้น(ช่วยเขา)เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์เราควรประพฤติพรหมจรรย์เมื่อผู้อื่นยินดีในกามคุณ – เราไม่ควรยินดีในกามคุณผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรภพ เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้วไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของโลก ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ในพระธรรมวินัย(ศาสนา)นี้ผู้นั้นจักละการเวียนเกิด ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ข้อความบางตอนจากอัจจยสูตรและพระสุตันตปิฏกขอความโกรธจงอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลายขอความเสื่อมคลายในนิมิตธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียน – ผู้ไม่ควรติเตียน และอย่าได้พูดส่อเสียด – ก็ความโกรธเปรียบปานภูเขาย่อมย่ำยีคนลามกหนึ่งขณะ-จิตพุทธะ-อย่าได้ล่วงเลยจากท่านทั้งหลายไปเสียเพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป พากัน แออัดอยู่ในนรกย่อม เศร้าโศกา – อาดูร หากเขาไม่สำเร็จ อริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสีย จักเดือดร้อนตราบสิ้นกาลนานผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต -ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็นอนาคตยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งปัจจุบัน ท่านเรียกว่า ผู้สันโดษผู้มีความโกรธย่อมไม่รู้อรรถรส ผู้มีความโกรธย่อมไม่เห็นธรรมเมื่อ นรชน ถูกความโกรธ เข้าครอบงำย่อมมืดตื้อทันทีความโกรธก่อซึ่งถึงความพินาศ – ความโกรธทำให้จิตกำเริบพึงระงับความโกรธด้วย การดำรงไว้ซึ่งสติสัมปชัญญะ

จิตกับกาย

ชีวิตต้องมีทั้ง กาย และ จิต กายเป็นสภาพที่มองเห็นได้ สัมผัสได้ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และแบบเฉียบพลัน เช่น จากผิวเด็กที่เต่งตึง แปรสภาพไปสู่ความเหี่ยวย่นเมื่อถึงวัยชราเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้ตัวค่อย ๆ เปลี่ยนไป แต่ถ้าถูกน้ำร้อน หรือถูกไฟไหม้หรือถูกแสงแดดมากเกินไปก็จะเห็นความเสื่อมสลายได้ในทันที กายอย่างเดียวเป็นสิ่งที่รับรู้ความดี ความชั่ว ความสุข ความเจ็บปวดทรมานไม่ได้ เช่น คนตาย กายไม่มีการเคลื่อนไหว ถึงจะถูกน้ำร้อน หรือไฟไหม้ ก็ไม่มีความรู้สึกสะทกสะท้านแต่อย่างใด กาย ใน ภาษาธรรม เรียกว่า รูป อาการของกาย ก็คือ อาการของรูป กายนั่ง จึงหมายถึง(รูปนั่ง)รูปเป็นธรรมชาติที่ย่อมแตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและเย็นและรูปเป็นสิ่งที่รับรู้อารมณ์ใด ๆ ไม่ได้ 2020,03,05

Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *